ศิลปะวัฒธรรมมอญ
"ศิลปวัฒนธรรมมอญ"นั้น กลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของพม่าไปหมด ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่นั้น พม่าได้รับไปจาก"มอญ" คือ "ศิลปวัฒนธรรมมอญ"มีเหนือพม่า เช่น สถาปัตยกรรมแบบปรางค์ ขอม-เขมร มีต่อสถาปัตยกรรมไทย ศิลปสถาปัตยกรรมประเภทเรือนยอด (กุฏาคาร) คือหลังคาที่มียอดแหลมต่อขึ้นไป โดยเฉพาะเรือนยอดทรงมณฑปนี้ เรือนยอด (Spire) ทรงมณฑปนี้ เป็น"สถาปัตยกรรมมอญ" และไทยนำมาดัดแปลงต่อมา
ศิลปดนตรี นั้น ไทยได้รับอิทธิพลจาก"มอญ"มามาก เช่น ไทยเรารับ"ปี่พาทย์มอญ" และรับได้ดีทั้งรักษาไว้จนปัจจุบัน และให้เกียรติ์เรียกว่า ปี่พาทย์มอญ นิยมบรรเลงในงานศพ ดนตรีไทยที่มีชื่อเพลงว่า มอญ นั้น นับได้ 17 เพลง เช่น มอญดูดาว มอญชมจันทร์ มอญรำดาบ มอญอ้อยอิ่ง นอกจากนี้ก็ยังมี มอญร้องไห้ มอญนกขมิ้น ฯลฯ และยังมี"แขกมอญ" คือ ทำนองทั้งแขกทั้งมอญ เช่น แขกมอญบางขุนพรหม แขกมอญบางช้าง เป็นต้น เพลงทำนองของมอญ มีความสง่าภาคภูมิ เป็นผู้ดีมีวัฒนธรรม และค่อนข้างจะเย็นเศร้า ซึ่งเป็นลักษณะของผู้มีวัฒนธรรมสูง ย่อมสงวนทีท่าบ้างเป็นธรรมดา แต่ที่สนุกสนานก็มีบ้าง เช่น กราวรำมอญ มอญแปลง ฯ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะ คือ กลอง ที่เรียกว่าเปิงมาง นั้น คาดว่าเป็น"มอญ" ไทยเรานำมาผสมวง ทำคอกล้อม เป็นวงกลมหลายวง เรียกว่า เปิงมางคอก ตีแล้วฟังสนุกสนาน
การแต่งกายตามอัตตลักษณ์ชาวมอญ
การแต่งกายของสุภาพสตรีชาวมอญในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของตนเองนั่นก็คือสรวมเสื้อแขนกระบอก(บางคนก็เป็นสามส่วน)นุ่งผ้าถุงเกล้ามวยผมคล้องผ้าสะไบ ผ้าสะไบมีสามลักษณะ คือ
๑. คล้องคอชายของผ้าทั้งสองห้อยมาด้านหน้า
๒.ใช้สะไปไปทางด้านซ้ายในงานบุญ
๓. ใช้พาดไหล่ซ้ายยาวลงมาตลอด
การแต่งกายของสุภาพบุรุษชาวมอญจะสรมเสื้อคอกลมแขนยาวบ้างสั้นบ้างตามโอกาสนุ่งลอยชายพาดผ้าขาวม้า การพาดผ้าขาวม้ามีอยู่สามลักษณะ คือ
๑. พาดไหล่ซ้ายข้างเดียว
๒. พาดให้ชายทั้งสองไปอยู่ด้านหลัง
๓. ใช้สะไบด้านซ้ายในงานบุญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น