ภาษามอญ
ภาษามอญ เป็นภาษาในสายโมนิค ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย ภาษาตระกูลมอญ-เขมร เป็นภาษาเก่าแก่ใช้กันมานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน ภาษามอญ นี้จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเซียติค (Austroasiatic Languages) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในแถบอินโดจีนและทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
เมื่อพิจารณาลักษณะทางไวยากรณ์ ภาษามอญ จัดอยู่ในประเภทภาษาคำติดต่อ (Agglutinative) อยู่ในกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Flank Group)
นักภาษาศาสตร์ ชื่อ วิลเฮม สชมิต ( Willhelm Schmidt) ได้จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาสายใต้ (Austric Southern family)
เมื่อพิจารณาลักษณะทางไวยากรณ์ ภาษามอญ จัดอยู่ในประเภทภาษาคำติดต่อ (Agglutinative) อยู่ในกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Flank Group)
นักภาษาศาสตร์ ชื่อ วิลเฮม สชมิต ( Willhelm Schmidt) ได้จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาสายใต้ (Austric Southern family)
ลักษณะ ภาษามอญ
พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงภาษามอญไว้ว่า “ภาษามอญ นั้นมีลักษณะเป็นภาษาคำโดด ซึ่งมีรูปภาษาคำติดต่อปนอยู่ด้วย
ลูช (Luce) ได้ให้คำอธบายเพิ่มเติมว่า ภาษามอญ อาจกล่าวได้ว่า เป็นภาษาคำโดดมาแต่เดิม แต่เหตุที่กลายเป็นภาษาคำติดต่อได้นั้น เนื่องมาจากสาเหตุที่ว่า ได้รับอิทธิพลของภาษา ในสายออสโตรเนเซียนเข้าไปปะปน ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
ประการที่ 1 ได้แก่การรุกรานของกลุ่มชนเชื้อชาติมลายู เข้าไปในดินแดนมอญ
ประการที่ 2 ได้แก่การอพยพลงมาทางใต้ของชนที่ใช้ภาษาต่างกันทั้งสองสายในดินแดนแถบแหลมอินโดจีน แต่เดิมนั้น ภาษามอญ จัดเป็นภาษาที่มีหมวดคำพื้นฐาน หรือคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย (Cognate word) ร่วมกันอยู่มากและเป็นภาษาที่มีลักษณะ ภาษาคำโดด แต่ต่อมาได้รับอิทธิพล ของภาษาตระกูลออสโตรเนเชียน ซึ่งมีหมวดคำ รากศัพท์ ชนิด 2 พยางค์ (Disyllable base) เข้ามาประสม ทำให้คนมอญโบราณ พยายาทที่จะสร้างคำสองพยางค์ขึ้น โดยการแทรกสระตรงส่วนที่จะ กลายเป็นพยางค์หน้าของคำสองพยางค์หน้า ของคำสองพยางค์ที่สร้างขึ้น จากคำเดิมหนึ่งพยางค์ และเน้นการออกเสียงในพยางค์ที่สอง ไม่เน้นเสียงที่พยางค์หน้า ซึ่งได้แทรกสระลงไปแล้ว ทำให้เกิดคำสองพยางค์ขึ้น
การออกเสียงของคำ ซึ่งไม่เน้นการออกเสียง ในพยางค์แรก มีผลทำให้เกิด การละพยางค์แรกทิ้ง หรือเกิดการเปลี่ยนแปล ในพยางค์แรกได้ง่าย ในระยะช่วงมอญสมัยกลาง จึงสามารถสร้างคำโดยการใช้การผสานคำ (affixation) กับคำพยางค์แรก เพราะสามารถนำหน่วยหน่วยผสานชนิดต่าง ๆ เช่น หน่วยผสานหน้าศัพท์และหน่วยผสานกลางศัพท์ (prefix infix) ประกอบเข้ากับพยางค์แรก เพื่อให้มีหน้าที่ทางไวยากรณ์ อีกทั้งการใช้หน่วยผสานกลางศัพท์ และการใช้สระต่าง ๆ กับพยางค์แรก ในคำสองพยางค์ ก็จะเป็นการช่วยเน้น ให้พยางค์แรกเด่นชัดขึ้นด้วย แต่พยางค์หลังเป็นส่วนที่มีความหมายเดิม
สรุปความว่า คำมอญ จะมีลักษณะเป็นคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์ ส่วนคำหลายพยางค์ เป็นคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลีและสันสกฤต และคำที่เกิดจากการเติมหน่วยคำผสานดังที่กล่าวมาแล้ว
ภาษามอญ เป็นภาษาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีการผันคำนาม คำกริยา ตามกฏบังคับทางไวยากรณ์ ประโยคประกอบด้วย คำที่ทำหน้าประธาน กริยา และกรรม ส่วนขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย
พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงภาษามอญไว้ว่า “ภาษามอญ นั้นมีลักษณะเป็นภาษาคำโดด ซึ่งมีรูปภาษาคำติดต่อปนอยู่ด้วย
ลูช (Luce) ได้ให้คำอธบายเพิ่มเติมว่า ภาษามอญ อาจกล่าวได้ว่า เป็นภาษาคำโดดมาแต่เดิม แต่เหตุที่กลายเป็นภาษาคำติดต่อได้นั้น เนื่องมาจากสาเหตุที่ว่า ได้รับอิทธิพลของภาษา ในสายออสโตรเนเซียนเข้าไปปะปน ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
ประการที่ 1 ได้แก่การรุกรานของกลุ่มชนเชื้อชาติมลายู เข้าไปในดินแดนมอญ
ประการที่ 2 ได้แก่การอพยพลงมาทางใต้ของชนที่ใช้ภาษาต่างกันทั้งสองสายในดินแดนแถบแหลมอินโดจีน แต่เดิมนั้น ภาษามอญ จัดเป็นภาษาที่มีหมวดคำพื้นฐาน หรือคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย (Cognate word) ร่วมกันอยู่มากและเป็นภาษาที่มีลักษณะ ภาษาคำโดด แต่ต่อมาได้รับอิทธิพล
การออกเสียงของคำ
สรุปความว่า คำมอญ จะมีลักษณะเป็นคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์ ส่วนคำหลายพยางค์ เป็นคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลีและสันสกฤต และคำที่เกิดจากการเติมหน่วยคำผสานดังที่กล่าวมาแล้ว
ภาษามอญ เป็นภาษาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีการผันคำนาม คำกริยา ตามกฏบังคับทางไวยากรณ์ ประโยคประกอบด้วย คำที่ทำหน้าประธาน กริยา และกรรม ส่วนขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น